วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินวัน 27 ตุลาคม 2558
Save Time 11

Knomlege

การทำกิจกรรมทดลอง

กิจกรรมที่ 1 

        - แบ่งกลุ่มพับกระดาษและตัดให้เป็นรูปดอกไม้คนละ 1 ดอก 4 กลีบ
        - ระบายสีลงในกระดาษแล้วพับกลีบดอกไม้ทับกัน
        - นำน้ำใส่ในถาด
        - นำดอกไม้วางลอยในน้ำพร้อมกันทุกคน
        - สังเกตการคลี่ของกลีบดอกไม้


กิจกรรมที่ 2 

        - อาจารย์ให้นำน้ำกรองลงในขวดน้ำ โดยขวดน้ำนั้นมีรูปเจาะอยู่ 3 รู คือ บน กลาง ล่าง ซึ่งรูแต่ละรูปถูกปิดไว้ด้วยสก๊อตเทป
        - อาจารย์ถามนักศึกษาว่าน้ำจะออกจากรูไหนได้ไกลสุด
        - สรุปคือน้ำออกจากรูปกลางไกลสุด


กิจกรรมที่ 3 

         - อาจารย์ให้พับกระดาษเป็นลูกยางกระดาษ โดยให้แต่ละคน ทำคนละ 1 ชิ้น แล้วออกมาโยนลูกยางกระดาษของตันเองขึ้นสูง สังเกตดูว่าลูกยางใครหมุนในอากาศบ้าง


กิจกรรมที่ 4

         - อาจารย์ให้หลอดคนละ 1 อันพร้อมกัน ให้ดายมาคนละ 1 เส้น โดยให้ร้อยด้ายเข้าไปในหลอดแล้วผูกด้ายต่อกัน เป่าหลอดดูว่าด้ายมีการเคลื่อนไหวหรือไม่


กิจกรรมที่ 5  
          เทียนไข  ใช้แก้ว เทียนไข ถ้วย ไม้ขีด ทดลองโดยจุดเทียน  เทียนไขเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟจะค่อยหรี่ลงๆจนในที่สุดเทียนไขจะดับก็เพราะในอากาศมีออกซิเจนอยู่ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไปเทียนไขจะสามารถ ส่องสว่างต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่งจนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมดเทียนไข ก็จะดับลงทันที

       ครั้งที่สองจุดเทียนแล้วเทน้ำรอบๆเทียน หลังจากนั้นนำแก้วไปครอบ แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ปรากฏว่าเทียนก็จะค่อยๆดับแล้วน้ำก็จะเข้าไปในแก้วเพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ)จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้วความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่า

skills
    - การร่วมกิจกรรมและการวิเคราะห์ออกแบบผลงานตัวเองและการแก้ปัญหาของชิ้นงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

Teacher Techniques
    - การสาธิตการทดลอง
    - การอธิบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมชัดเจน

Evaluation
Teacher : เข้าสอบตรงเวลา เวลาสอบอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมของกิจกรรมได้ชัดเจน
Fiends : เข้าเรียน่ตรงเวลา มีมาสายบ้างเป็นบางคน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
Self : ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย


วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินวันที่ 20  ตุลาคม  2558
Save Time 10

Knowledge
   - ระดมความคิดการทำคุกกิ้ง 


กลุ่ม หน่วยน้ำ 
      - เลือกทำหวานเย็น

สมมุติฐาน
      - น้ำเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็งได้อย่างไร

อุปกรณ์
1. น้ำหวาน
2. น้ำเปล่า
3. กะละมัง
4.น้ำแข็ง
5. เกลือ
6. ทับพี

การนำเสนอบทความ

นางสาวปรางชมพู บุญชม

เรื่อง : การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


            วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคนการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่องทั้งทักษะการสังเกตการจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์


นางสาวชนากานต์ แสนสุข


 เรื่อง : การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสาตร์
          
            ครูเล่านิทาน เล่นริมน้ำและให้เด็กผลัดกันออกมาเล่าประสบการณ์เดิมครูแบ่งกลุ่มเด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพุ เปิดขวดแชมพูใส่น้ำให้เต็ม โดยการตั้งคำถาม เช่น ลักษณะของขวดเป็นอย่างไร  จากนั้นให้เด็กเรียงแถว แล้วบีบขวดจนน้ำในขวดหมด โดยสามารถเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากการบีบขวดโดยการตั้งเกณฑ์ ว่าใครบีบได้ไกลและใกล้ 

นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์

เรื่อง : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์



วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558


สรุปโทรทัศน์ครู

"สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์"


ลักษณะของบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร์ 6 ลักษณะ คือ
1. เป็นคนที่มีเหตุผล
2. เป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น
3. เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง
4. เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
5. มีความเพียรพยายาม
6. มีความละเอียดรอบคอบ

การสร้างจิตวิทยาศาสตร์ โดย โรงเรียนปทุมวัน
           การสอนวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการฝึกให้เด็กเป็นคนชั่งสังเกต เมื่อสังเกตแล้วจะมีปัญหาเกิดขึ้นและเมื่อมีปัญหาขึ้นขั้นต่อไปก็จะเป็นการตั้งสมมุติฐานต่อมาเมื่อมีสมมุติฐานแล้วจึงทำให้เด็กอยากทำการทดลองและถ้าเด็กทำการทดลองเสร็จแล้วหลังจากนั้นก็จะเกิดจิตวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันที่ 13 ตุลาคม 2558


Knowledge 



นำเสนอ โทรทัศน์ครู 



นางสาววัชรี วงศ์สะอาด 
เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว   
จากข่าว  Family News Today

          ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน


นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านวิทยาศาสตร์น้อย

            บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตเเละคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกอยู่ในทุกๆวัน ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ โดยในทุกกิจกรรมจะมีคุณครูเป็นผู้ค่อยเสริมประสบการณ์ค่อยถามเด็กอยูู่เป็นระยะเพื่อให้เด็กได้คิดวิเคาระห์เเละสังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย, ลอยนํ้าได้อย่างไร

หลอดดำนํ้า, จมหรือลอย, การกรองนํ้า, ฟองมหัศจรรย์, ไหลเเรงไหลค่อย เป็นต้น

ทำกิจกรรมกลุ่ม  


จัดทำหัวข้อที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย

หน่วยที่ 1  : ตัวเด็ก

หน่วยที่ 2  : เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

หน่วยที่ 3 : บุคคลเเละสานที่

หน่วยที่ 4  : ธรรมชาติรอบตัว



Skill
  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน


Apply

  • สามารถนำไปบูรณาการได้
  • สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป  นำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้


  Techniques Teaching


  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation

  • Teacher  :: เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจ  ได้ง่าย
  • Friends  :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน ต้้งใจเรียน


อ้างอิง จาก นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น