วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558



# 25 August 2015 #

# Save Time 3 #

    Knowledge                
                  ได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในห้องสมุด ในเรื่องของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   และ ได้ทำการจับฉลากเลือกหัวเรื่องทำงาน เป็นงานคู่ ได้เรื่อง "กลไกอย่างง่าย"
                               
สรุป
เรื่อง กลไกอย่างง่าย
                   
                   กลไลอย่างง่าย คือการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้กลไกอย่างง่ายๆ ที่ช่วยเคลื่อนย้ายและยกข้าวของ ความรู้เหล่านี้จะทำให้นักเรียนสนใจเครื่องกลไกที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งอาจไม่เคยอยู่ในความสนใจของเด็กมาก่อน
กิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์
                     ตุ๊กตาเครื่องกล เด็กๆ มักชอบทำท่าเหมือนตุ๊กตาไขลาน ที่เคลื่อนไหวแบบกระตุ๊กๆ แข็งๆ ดังนั้นครูจะเริ่มกิจกรรม โดยคุณครูจะให้เด็กๆ สมมุติตัวเองเป็นตุ๊กตาไขลาน จากนั้นคุณครูจะไขลานตุ๊กตา ทีละคนๆ  แล้วให้นักเรียนคนอื่นๆ ที่เหลือเดาว่าเป็นตุ๊กตาอะไร แล้วต่อมาจะไขลานตุ๊กตาทั้งหมดพร้อมกับให้ตุ๊กตาไขลานทั้งหมดนั้นเคลื่อนไหวประกอบจังหวะเพลง
 
Skills
        -การวิเคราะห์ข้อมูล
        -การแสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือกันสรุปงาน

Apply
        -การานำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการเรียนการสอนการเลือกจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในอนาคต
Teaching Techniques
    - ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลและแบ่งหัวข้องานโดยการแบ่งกลุ่มจับคู่ 2 คน เพื่อสรุปงาน
Assessment
Self : เข้าเรียนตรงเวลา และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับ
Friends : เข้าเรียนตรงเวลา และ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับ
Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย อธิบายและแบ่งงานได้ชัดเจน
  

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 
   #  21  August  2015  #
 
 
Article
 

สอนลูกเรื่องเชื้อเพลง (Teaching Children about Fuel)
 
                      การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วัสดุที่นำไป เผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊ส แก๊สหุงต้ม ซึ่งคนเราค้นพบการใช้เชื้อเพลิงมานานมากแล้ว เชื้อเพลิงเป็นประโยชน์ที่ช่วยทำให้อาหารสุด นำมาใช้เพื่อพิงไฟให้ตนเองและสัตว์เลี้ยง การค้นพบเชื้อเพลิงทำให้คน เรามีความสุขสบายมาขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเชื้อเพลงก็ได้พัฒนามาตลอดเพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้คู่กับเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกของคนเราได้แก่เครื่องหุงต้ม เครื่องใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และยายพาหนะเพื่อการคมนาคม ส่ง เป็นต้น เชื้อเพลิงจึงเป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก มีให้เห็นทั้งในบ้านและในชุมชน แต่เนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นวัสดุใดๆที่นำ ไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจึงมีทั้งคุณและโทษที่เราต้องเรียนรู้เพื่อใช้ให้ถูกวิธีและระมัดระวังการเผาไหม้มิให้เกิดอันตราย เชื้อเพลิงธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของซากพืชซากสัตว์มานานนับล้านปี เมื่อนำมาใช้ก็จะหมดไป จึงเป็นเรื่องที่ฝึกให้คนเรารู้คุณค่าของเชื้อเพลิงเหล่านี้ และแก้ปัญหาด้วยการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดบทเรียนให้กับเด็กความคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างมาก
 
# ที่มา : ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  สืบค้นจาก http://taamkru.com/th 
 
 

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558



# 19 August 2015 #
# Save Time 2 #

Diary Notes 
Knowledge 
                           หลักการเลือกเรื่องการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลักในการเลือกหัวข้อในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยมี ดังนี้
1.          สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก >> ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก รวมทั้งต้องเหมาะสมกับพัฒนาการ และประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก  
2.             สิ่งที่เด็กสนใจ >> ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก 
3.             สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก >>  การเลือกหัวข้อจัดกิจกรรม หลักสำคัญคือการคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเด็กด้วย  



              พัฒนาการทางสติปัญญาพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผลช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้   
พัฒนาการทางสติปัญญา มีการพัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม
โดยมีประกอบ 2 องค์ประกอบคือ
1.             กระบวนการดูดซึงและซึมซับ (assimilation)เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป  
2.         กระบวนการปรับโครงการ(accomodation)คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
2.1  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล
2.2  การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
2.3  ปรังโครงสร้างความคิดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับเข้ามา 
2.4  ปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะความสมดุลแล้วเกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญา
                  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์ (Piaget)
                     เพียเจต์ เชื่อว่า พัฒนาการด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็กมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นไปตามลำดับขั้นมีการพัฒนาที่เป็นไปตามธรรมชาติ จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
โดยมีลำดับขั้น ดังนี้ 
1.             ขั้นประสารทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) 
2.             ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preopetational Stage) 
3.             ขั้นการปฏิบัติการคิด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)

Skills
                 -การวิเคราะห์เลือกเรื่องการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
                 -การวิเคราะห์เลือกใช้คำตอบในการตอบคำถาม

Apply
                -นำความรู้และทักษะที่ได้ในการเรียนไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต 

Teaching Techniques
                    ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ถามคำถาม

Assessment
Self : เข้าเรียนตรงเวลา การแต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ 
Friends : ให้การร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามดี

Teacher : เข้าสอนตรงเวลา อธิบายและตอบคำถามที่นักเรียนสงสัยได้ตรงประเด็น




















  

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558


# 11  August  2015 #

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


Knowledge
1.อาจารย์ชี้แจงแนวปฎิบัติตามแนวการสอน
2.อาจารยืและนักศึกาาร่วมอ๓อปรายและแสดงความคิดเห้นต่อแนวทางในการปฎิบัติตามแนวการสอน ข้อตกลงในการเรียนการสอน

Skills
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
วิทยาสาสตร์ scicnce
คณิตสาสตร์ mathematics
สติปัญญา intelligence

Apply
การนำความรู้ที่ได้รับรวมทั้งวิธีการสอนไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

Teaching Techniques
1.การบรรยาย
2.การใช้คำถาม
3. การระดมความคิด

Assessment
Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
Friends : เข้าเรียนตรงเวลา และ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
Teacher : เข้าสอนตรงเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน
 
อ้างอิงจาก Miss.  Waruwan  Chooglin