วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินวันที่ 28 กันยายน 2558

Save Time 8





 งดการเรียนการสอน
# สอบการภาค #
วันที่ 28 กันยายน - 6 ตุลาคม 2558

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันที่ 22 กันยายน 2558 

Save time 7 

Knowledge

ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้
หน่วย แม่เหล็ก
ชื่อของเล่น เบ็ดตกปลา

อุปกรณ์ 
1. ไม้เสียบลูกชิ้น
2. กระดาษ
3. ด้าย
4. กาว
5. กรรไกร
6. หลอดน้ำ
7. คลิป
8. แม่เหล็ก

ขั้นตอนการทำ
1. พับกระดาษให้เป็น่รูปปลาหมึก
2. ติดคลิปไว้บนหัวปลาหมึก
3. ตัดหลอดน้ำให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว
4. ใส่แม่เหล็กยัดไว้ในหลอดน้ำ
5. นำด้ายมามัดติดกับไม้ เสร็จแล้วก็นำด้ายมามัดต่อกับหลอดน้ำ

วิธีเล่น
     - นำเบ็ดตกปลาไปตกปลาหมึก

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์
     - แม่เหล็กสามารถดูดเหล็กได้

นำเสนอบทความ

# นางสาววราภรณ์ แทนคำ  #

เรื่อง : การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ชื่อผู้วิจัย : จุฑามาศ เรือนกำ 


         สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์และเลือกหน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย ที่ใกล้ตัวเด็กและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี ผลไม้น่าทาน ต้นไม้เพื่อนรัก ดอกไม้แสนสวยและวิทยาศาสตร์น่ารู้  และนำมาสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสังเกต จำแนกประเภท การวัด และการหามิติสัมพันธ์ 


# นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์ #  

เรื่อง : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


ชื่อผู้วิจัย : เสกสรร มาตวังแสง 

                การวิจัยเรื่องนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง 1 สัปดาห์ ก่อนการทำการทดลองจากนั้น จึงทำการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณก่อนการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการทดลองด้วยตนเองจำนวน 8 สัปดาห์ เมื่อทำการทดลองครบ 8 สัปดาห์ จึงนำแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการแบบทำสถิต


วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558



สรุปงานวิจัย
เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 
The Result of Providing Natural Color Learning Activity on Young Children
 
 
ของ
 
คุณยุพาภรณ์    ชูสาย
 
Yupaporn    Choosai
 
จุดมุ่งหมายของงานวิจัย
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
 
วิธีการดำเนินการวิจัย
  1. การกำหนดตัวอย่างการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
โดยมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้
  1. เลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียน โดยวิธีการจัดฉลากมา 1 ห้องเรียน ได้นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 จำนวน 30 คน 
  2. จากลุ่มตัวอย่างในข้อ 1 สุ่มอย่างง่ายอีกครั้ง ด้วยการจับฉลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน
 
2.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     2.1  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
     2.2  แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 
3.  ขั้นตอนในการวิจัย
     3.1  ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
     3.2  ชี้แจงให้ครูประจำชั้นราบรูปแบบงงานวิจัยและขอความร่วมมือในการดำเนินการวิจัย
     3.3  สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ 
     3.4  ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
     3.5  ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     3.6  เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 ประเมินหลังการทดลอง
4.  การวิเคราะห์ข้อมูล
 
 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยู่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมาที่สุด
    2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาสตร์
 
กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย
 

 
 

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558



17  September 2015 #

Save Time  6 #


Knowledge

นักการศึกษา / หลักการและแนวคิด

กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน

ฟรอย์ เชื่อว่าประสบการณ์ในวัยเด็กจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

อิริคสัน เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เด็กจะเป็นคนมองโลกในแง่ดี แต่ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีก็จะส่งผลให้เด็กมองโลกในแง่ร้าย

เพียเจต์ เชื่อว่า พัฒนาการเชาว์ปัญญาของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ดิวอี้ เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

สกินเนอร์ เชื่อว่า เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน และเมื่อใดที่เด็กได้รับการชมเชย รวมทั้งประสบผลสำเร็จในกิจกรรม เด็กจะสนใจทำในสิ่งต่อไป

เอลคายน์ เชื่อว่า เด็กควรมีโอกาศเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่ถูกบังคับ
 การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
>>  การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง

>>  การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

>>  พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบ-ยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์

>>  กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ
การเรียนรู้แบบองค์รวม
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น >> 2. ความเพียรพยายาม >> 3. ความมีเหตุผล >>
 4. ความซื่อสัตย์ >>  5. ความมีระเบียบรอบคอบ >> 4. ความใจกว้าง
Skills
    การเรียนรู้แบบองค์รวมและการวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาศาสตร์รวมถึงการวิเคราะห์กิจกรรมที่เหมาะต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย

Apply
     ปรับใช้ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต

Teachingmethods 
     ใช้คำถามในการกระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

Assessment
      classroom    อากาศถ่ายเทดีและบรรยากาศเหมาะต่อการเรียนการสอนเสียงไม่ดังรบกวนเวลาเรียนดี
     Self   การตอบคำถามและมีการระดมความคิดในเวลาเรียน
     Friend  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
     Professor  อาจารย์อธิบายและให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ดี

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558


#  9  September  2015  #

# Save  Time  5  #


 Knowledge
ทฤษฎีเพียเจต์
เพียเจต์ เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กมีการเรียนรู้เป็นไปตามพัฒนาการตามวัย ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น
ลำดับขั้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดเพียเจต์ มีดังนี้

Skills

กิจกรรม
อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น โดยให้ทุกคนประดิษฐ์เป็นของเล่นตามจิตนาการและต้องสามารถนำมาเชื่อโยงกับวิทยาศาสตร์ได้ พร้อมออกไปนำเสมอหน้าชั้นเรียน
 ผลงานของหนูคือว่าว คะ 
นำไปประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของลม

องค์ประกอบของว่าวที่ลอยอยู่ในอากาศได้ คือ
  1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ
  2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกให้ได้แก่ พื้นที่ของตัวว่าว
  3. อุปกรณ์บังคับได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าวและสายซุงซึ่งทำหน้าที่ปรับปรุงมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน
แรงที่กระทำกับตัวว่าวมี 4 แรงคือ
  1. แรงขับ >> แรงที่คนดึงสายว่าวสวนทางกับลม
  2. แรงต้าน >>  แรงที่มีทิศทางเดียวกับกระแสลม
  3. แรงยก >>  แรงที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปในอากาศได้
  4. แรงน้ำหนักถ่วง  >>  แรงที่อยู่ด้านล่างของว่าว
APPly

      นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการต่อยอดความรู้ต่อไป

Teachingmethods

       อาาจารย์อธิบายและให้ความรู้ได้ชัดเจน

Assessment
classroom    อากาศถ่ายเทดีและบรรยากาศเหมาะต่อการเรียนการสอนเสียงไม่ดังรบกวนเวลาเรียนดี
Self   การตอบคำถามและมีการระดมความคิดในเวลาเรียน
Friend  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
Professor  อาจารย์อธิบายและให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ดี

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันที่ 1 กันยายน 2558

*งดการเรียนการสอน เข้าร่วมกิจกรรม งานศึกษาศาสตร์วิชาการ*

Knowledge

ทตวรรษที่ 21

          แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  

                 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 



skill 
     การจัดการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการในทตวรรษที่ 21

Apply
     นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต

Teaching Techniques
      อธิบายให้ความรู้ได้และเอียดชัดเจน

Assessment
Self : เข้าอบรมตรงเวลาและตั้งใจฟัง
Friends : เข้าอบรมตรงเวลา และ ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือแสดงความคิดเห็น
Teacher : อธิบายนำเสนอความรู้ได้ดีมาก



อ้างอิงจาก..
http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf
http://www.srn2.go.th/attachments/article/145/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1.pd